สาระน่ารู้
  • 20 เม.ย. 2564
 9,083

7 เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19

Photo credit: iStock/peterschreiber.media
  

วัคซีนโควิด - 19 กำลังกลายเป็นสิ่งที่หลายคนเฝ้ารอและคาดหวังว่าจะช่วยคลี่คลายวิกฤติโควิด -19 หลายคนมีข้อสงสัยว่า ประเทศไทยหลังจากซื้อวัคซีนมาแล้ว จะได้เริ่มฉีดกันจริง ๆ ช่วงเดือนไหน และมีหลายเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิด – 19 วันนี้เราจะมาอัพเดทข่าวสาร และสิ่งที่ควรรู้ก่อนจะฉีดวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ว่าต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง มาดูกันค่ะ

 

1. ใครควรได้รับวัคซีน

 

ขณะนี้การผลิตวัคซีนมีจำนวนจำกัด และมีข้อมูลการฉีดในประชากรบางกลุ่มเท่านั้น กรมควบคุมโรคจึงกำหนดกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับวัคซีนตามลำดับ ได้แก่

1. บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน

2. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรค COVID -19 เช่น อสม. อสต. ตำรวจ ทหาร

3. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด  โรคไตเรื้อรังระยะ 5 ขึ้นไป โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งทุกชนิด โรคเบาหวาน  และโรคอ้วน

4. ผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
UploadImage

2. ก่อนฉีดวัคซีนต้องเตรียมตัวอย่างไร

การฉีดวัคซีนโควิด-19 เหมือนกับการฉีดวัคซีนอื่นทั่วไป ถ้าร่างกายปกติแข็งแรงดี ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ เพียงแค่ไม่เป็นไข้ หรือไม่มีอาการป่วยใด ๆ ก็สามารถฉีดวัคซีนได้เลย

3. วัคซีนอยู่กับเราได้นานแค่ไหน

วัคซีนโควิดเป็นสิ่งใหม่ในวงการแพทย์ที่คาดว่าอาจต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นทุกปีเหมือนวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ หากผู้ที่มีร่างกายไม่แข็งแรงอาจไม่สามารถรับวัคซีนได้

4. หลังฉีดวัคซีนแล้วยังมีโอกาสเป็นโควิดหรือไม่ ?

เนื่องจากวัคซีนไม่สามารถป้องกันโรคได้ 100% ดังนั้น แม้ฉีดวัคซีนแล้วก็ยังมีโอกาสเป็นโรคโควิดได้อยู่ แต่วัคซีนสามารถช่วยลดความรุนแรงของโรค อัตราการนอนโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตได้อย่างชัดเจน ผู้รับวัคซีนจึงต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด เช่น ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม เป็นต้น

5. มีผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนหรือไม่

อาการทั่วไปหลักจากได้รับวัคซีน คือ อาการไข้หวัด เช่น มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดบริเวณที่ฉีด และรวมไปถึงอาการอ่อนเพลียด้วย ส่วนอาการข้างเคียงอื่น ๆ เช่น แพ้วัคซีน เป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นค่อนข้างน้อย


UploadImage 

6. เริ่มต้นฉีดวัคซีนในช่วงไหน

ประเทศไทย มีการวางแผนการฉีดวัคซีนออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 

ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนเมษายน 2564 ฉีดจำนวน 2 ล้านโดส  หรือประมาณ 1.32 ล้านคน ฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ที่แพร่ระบาดหนัก

ชื่อวัคซีน  : Coronavac  บริษัท SinoVac จากประเทศจีน

การฉีด : ฉีดคนละ 2 โดส ห่างกันโดสละ 1 เดือน

 

ระยะที่ 2

ช่วงเดือนพฤษภาคม –ธันวาคม 2564 ฉีดจำนวน 26 ล้านโดส หรือประมาณ 13 ล้านคนให้กับกลุ่มเสี่ยงครอบคลุมทั่วประเทศมากยิ่งขึ้น

ชื่อวัคซีน  : AZD1222  จากบริษัท AstraZeneca

การฉีด : ฉีดคนละ 2 โดส ห่างกันโดสละ 1- 3 เดือน

 

ระยะที่ 3

ช่วงเดือนมกราคม 2565 เป็นต้นไป หากวัคซีนมีจำนวนมากเพียงพอแล้ว จะฉีดให้กับประชาชนทุกคน

โดยมีผู้กระจายยา คือ องค์การเภสัชกรรม

 

UploadImageภาพจากเพจเฟซบุ๊ก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข


7. สิ่งที่จะต้องแจ้งบุคลากรทางการแพทย์ก่อนการฉีดวัคซีน

1. มีประวัติการแพ้ยา วัคซีน อาหาร สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ อย่างรุนแรง

2. มีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียส ในวันที่นัดฉีดวัคซีน

3. มีรอยช้ำ หรือ จ้ำเลือด หรือเลือดออกผิดปกติ หรือใช้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดอยู่ เช่น วาร์ฟาริน

4. มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือใช้ยากดภูมิคุ้มกันอยู่ เช่น สเตียรอยด์ขนาดสูง ยารักษาโรคมะเร็ง หรือยากดภูมิคุ้มกัน

5. อาการข้างเคียงทุกชนิดจากการฉีดวัคซีนชนิดนี้ในเข็มแรก

6. ตั้งครรภ์ หรือมีแผนจะตั้งครรภ์ หรือในนมบุตร

 

ถึงแม้ว่าในประเทศไทยจะมีวัคซีนแล้ว แต่เราทุกคนยังคงต้องดูแลตัวเองด้วยการใช้ชีวิตแบบ New Normal  ไม่ประมาท การ์ดอย่าตก ต้องสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง รักษาระยะห่าง ทานร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และรักษาความสะอาดอยู่เสมอค่ะ 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: https://bestreview.asia/