สาระน่ารู้
  • 04 เม.ย. 2565
 33,643

วันสงกรานต์ ที่คนไทยต้องรู้!

วันสงกรานต์ ถือเป็น วันปีใหม่ไทย ที่คนไทยยึดถือสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน เพราะฉะนั้นเรามารู้จักเรื่องราวประเพณี ของวันสงกรานต์ ที่คนไทยต้องรู้กันค่ะ

วันสงกรานต์ นั้นเป็น วัฒนธรรมร่วม ของทั้งประเทศไทย กัมพูชา ลาว เมียนมา ชนกลุ่มน้อยชาวไทในเวียดนาม มณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกา และทางตะวันออกของประเทศอินเดีย โดยในแต่ละประเทศที่มีประเพณีสงกรานต์นั้น ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนดัดแปลงพิธีสงกรานต์ และรูปแบบให้ต่างจากเดิมไป โดยสงกรานต์ในประเทศไทยเรานั้น กำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี และยังเป็นวันหยุดราชการอีกด้วย


UploadImage


ประเพณีสงกรานต์ในประเทศไทย

ประเพณีสงกรานต์ดั้งเดิม จะมีพิธีสงกรานต์ที่ปฏิบัติกันในครอบครัว โดยจะมีการใช้น้ำเป็นองค์ประกอบหลักในพิธี เนื่องจาก การคำนวณทางดาราศาสตร์ที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อน จึงใช้น้ำมารดให้แก่กันเพื่อความสดชื่นในหน้าร้อนนั่นเอง โดยหลักๆ แล้ว จะมีพิธีสงกรานต์ คือ

  • การสรงน้ำพระ ทั้งที่บ้าน และที่วัด เพื่อความเป็นสิริมงคล รวมถึงการทำบุญตักบาตรไหว้พระ
  • การรดน้ำ เป็นการอวยพรปีใหม่ให้กันและกัน
  • การรดน้ำผู้ใหญ่ เป็นการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์
  • การดำหัว เป็นพิธีสงกรานต์ทางภาคเหนือ โดยจะคล้ายกับการรดน้ำผู้ใหญ่ในภาคกลาง เป็นการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือ การขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่
  • การขนทรายเข้าวัด มีความเชื่อว่า เพื่อคามเป็นมงคล ให้มีความสุขความเจริญ เงินทองมากมายเหมือนเม็ดทรายที่ขนเข้าวัด และอีกความเชื่อก็คือ การนำทรายที่ติดเท้าออกวัด เป็นบาป จึงขนทรายเข้าวัดเพื่อไม่ให้เป็นบาปนั่นเอง

UploadImage

 

 


UploadImage

เกร็ดน่ารู้ > มาตรการต่างๆ ในช่วงสงกรานต์ 2565

 

และสำหรับสงกรานต์ ในปี 2565 นี้ ก็ยังอยู่ในการควบคุมป้องกันโรคโควิด 19 โดยที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.ชุดใหญ่ ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2565 มีมติเห็นชอบมาตรการป้องกันโรคโควิด ในการจัดงานช่วงเทศกาล สงกรานต์ ประจำปี 2565 “ร่วมสืบสานวัฒนธรรมไทย สงกรานต์วิถีใหม่ รับผิดชอบต่อครอบครัว และสังคม” และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ ดังนี้

 

การเตรียมตัวก่อนร่วมงานสงกรานต์ปี 65

• ให้พิจารณาตรวจ ATK ก่อนเดินทาง หรือ ก่อนร่วมงานภายใน 72 ชั่วโมง

• ผู้จัดงาน และกิจการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานสงกรานต์ให้ลงทะเบียนบนระบบ TSC2+ และประเมินตนเองตามประเภทมาตรการ Covid Free Setting ได้แก่

• การจัดกิจกรรมพิเศษ (แสดงคอนเสิร์ต/ดนตรี งานอีเวนท์ งานเทศกาล มหกรรม)

• การจัดกิจกรรมรวมกลุ่มในชุมชน ศาสนสถาน ร้านอาหาร ขนส่งสาธารณะ ฯลฯ

 

ระหว่างช่วงงานสงกรานต์ พื้นที่จัดงานสงกรานต์ ที่มีการจัดเตรียมสถานที่และควบคุมกำกับ

• อนุญาตให้เล่นน้ำ และจัดกิจกรรมตามประเพณี เช่น รดน้ำดำหัว สรงน้ำพระ การละเล่น การแสดงทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ขบวนแห่ การแสดงดนตรี โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการ COVID Free Setting และมีการกำกับอย่างเคร่งครัด

• ห้ามประแป้ง ปาร์ตี้โฟม จำหน่ายและบริโภคแอลกอฮอล์ในพื้นที่จัดงาน

• กำหนดช่องทางเข้า-ออกจากงาน จัดจุดคัดกรอง และควบคุมความหนาแน่นในพื้นที่จัดงาน (1 ต่อ 4 ตารางเมตร)

• สวมหน้ากากตลอดเวลา พกเจลแอลกอฮอล์ รักษาระยะห่าง ตลอดเวลาที่ร่วมงาน

 

พื้นที่สาธารณะไม่มีการควบคุม เช่น ท้องถนน ฯลฯ

• ห้ามเล่นน้ำ ประแป้ง และปาร์ตี้โฟม

• สามารถจัดกิจกรรมรวมกลุ่มในครอบครัว เช่น รดน้ำดำหัว จัดกิจกรรมในที่มีการระบายอากาศได้ดี หรือที่โล่ง ไม่หนาแน่นหรือคับแคบ สวมหน้ากากตลอดเวลา

• งดกิจกรรมการสัมผัสใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกัน

• เลี่ยงการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มร่วมกันเป็นเวลานาน

• ผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ควรได้รับวัคซีนให้ครบก่อนร่วมกิจกรรมสังสรรค์ และสัมผัสใกล้ชิดลูกหลาน

• ผู้ติดเชื้อและผู้สัมผัสเสี่ยงสูงห้ามร่วมกิจกรรม

 

หลังกลับจากงานสงกรานต์

• สังเกตอาการตนเอง 7 วัน

• หลีกเลี่ยงพบปะกับผู้คนจำนวนมาก หากพบว่ามีอาการสงสัยติดเชื้อ ให้ทำการตรวจ ATK

• พิจารณามาตรการ WFH ให้เป็นไปตามความเหมาะสม และการพิจารณาของหน่วยงาน

 

ทั้งนี้มาตการต่างๆ อาจมีการปรับเปลี่ยนแก้ไข ได้ตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด 19  โดยติดตามได้จากประกาศของ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศปก.ศบค.) 

ขอขอบคุณบทความจาก travel.trueid.net และ www.sanook.com